การใช้เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศในอินเตอร์เน็ต

การสืบค้นสารสนเทศ
ผู้ต้องการสืบค้นสารสนเทศจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกระบบในปัจจุบัน ควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลและฐานข้อมูลก่อน รวมทั้งการสืบค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสืบค้นสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการในการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือสืบค้นรูปแบบต่างๆ การสืบค้นสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1. การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบมือ (Manual System) เช่น บัตรรายการ บัตรดรรชนีวารสาร
2. การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) เป็นการสืบค้นที่สามารถกระทำได้โดยผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ ฐานข้อมูล หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ และการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์
ฐานข้อมูลออนไลน์ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คือหมายถึงฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นเพื่อการศึกษาค้นคว้าในเชิงวิชาการ มีเนื้อหาจากวัสดุสารสนเทศหลากหลายประเภท ส่วนใหญ่เป็น บทความจากวารสารวิชาการ ( Scholarly Journal ) และรายงานการประชุมในสาขาวิชาเฉพาะด้าน ดังตัวอย่างฐานข้อมูลออนไลน์ที่ให้บริการในสำนักวิทยบริการ

วิธีการสืบค้น
การสืบค้นสารสนเทศมี 2 วิธี Basic Search และ Advance Search
Basic Search คือ การสืบค้นแบบง่าย มีขั้นตอนในการสืบค้นดังนี้ 1. คลิกที่ Basic Search
2. ใส่คำค้นที่ช่องในคำค้น
3. กำหนดระยะเวลาของสารสนเทศที่ต้องการสืบค้น
4. กำหนดลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการสืบค้น
5. คลิกที่ More Search Option เมื่อต้องการกำหนด ข้อมูล เพิ่มเติมในการ สืบค้น แล้ว คลิกปุ่ม Search ดังภาพประกอบ

ภาพประกอบ การสืบค้นสารสนเทศแบบ Basic Search
Advance Search เป็นการสืบค้นขั้นสูง สามารถระบุสิ่งที่ต้องการค้นได้ละเอียดเฉพาะเจาะจงมากขึ้น มีขั้นตอนที่ 1 และ 2 เหมือน Basic Search จากขั้นตอนที่ 3 จะเป็นการ ระบุเขตข้อมูลต่างๆ ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ได้แก่
3. ระบุเขตข้อมูลที่ต้องการให้นำคำค้นไปค้นหา
4. กำหนดระยะเวลาของสารสนเทศที่ต้องการสืบค้น
5. กำหนดลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการสืบค้น
6. คลิกที่ More Search Option เมื่อต้องการกำหนดข้อมูลเพิ่มเติมในการสืบค้น
7. คลิกปุ่ม Search

ภาพประกอบ การสืบค้นสารสนเทศแบบ Advance Search
การแสดงผลลัพธ์จากการสืบค้น มีส่วนประกอบดังนี้
1. จำนวนรายการผลลัพธ์ที่สืบค้นได้
2. คำค้นที่ใช้ในการสืบค้น
3. ระบุการเรียงลำดับรายการผลลัพธ์
4. รายการบรรณานุกรมของผลลัพธ์
5. คลิกที่ Abstract หรือชื่อเรื่อง เพื่อแสดงรายการบรรณานุกรม และบทคัดย่อของรายการผลลัพธ์ที่ต้องการ ดังภาพประกอบ 121
6. คลิกที่ 24 Page Preview เพื่อดูเนื้อหาฉบับเต็ม 24 หน้า ดังภาพประกอบ 123
7. คลิกที่ Full Text Options เมื่อต้องการเนื้อหาฉบับเต็มซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่าย



ภาพประกอบ หน้าจอแสดงผลลัพธ์จากการสืบค้นแบบ 24 Page Preview
การใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสาร
และสืบค้นสารสนเทศเบื้องต้น
และสืบค้นสารสนเทศเบื้องต้น
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีบริการหลายชนิดที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั่วไปได้ ดังนี้
1 . จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เป็นการรับส่งข้อความที่มีขั้นตอนคล้ายกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ แต่เป็นระบบอัตโนมัติทางคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันได้ทั่วโลก ซึ่งสามารถโต้ตอบกันได้หรือทิ้งจดหมายไว้ในเครื่องกรณีผู้ติดต่อด้วยไม่ได้ อยู่ที่คอมพิวเตอร์

2 . การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจากระยะทางไกล (Remote Login) ด้วยโปรแกรม Telnet ซึ่งเป็นบริการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นที่อยู่ห่างไกลเสมือนเครื่องของตนเอง ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้นโดยผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องนั้น

3 . บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูล โดยที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลเป็นจำนวนมากการค้นหาข้อมูลที่ต้อง การจึงเป็นเรื่องยาก ในปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่มี Search Engine ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเว็บไซต์ เช่น Yahoo.com, Google.com เป็นต้น

4 . กลุ่มสนทนาและข่าวสาร (News Group) เป็นบริการแบ่งกลุ่มเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่าง ๆ
5 . การขนถ่ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) เป็นบริการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถขนถ่ายแฟ้มข้อมูลโดยโปรแกรมต่าง ๆ ด้วยการ Download หรือ Upload ไฟล์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการได้โดยสะดวก

6 . บริการไฮเปอร์มีเดีย (Hyper-media) ด้วย World Wide Web หรือ WWW. ซึ่งเป็นบริการใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้ใช้อินเคอร์เน็ตในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถสื่อสารได้ทั้งข้อความ รูปภาพ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยใช้โปรแกรมแสดงผล (Browser) เช่น โปรแกรม Internet Explorer เป็นต้น
7 . โปรแกรมสนทนา (Chat) เป็นบริการที่ทำให้ผู้ใช้โปรแกรมสนทนาสามารถพิมพ์ข้อความพูดคุยโต้ตอบใน ลักษณะทันทีทันใด (Real Time) สามารถสนทนาเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือเฉพาะบุคคลได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น